News
Follow our press releases, top stories and interesting news

Farm Visit สวนใจเขียว และบ้านสวนพรอนันต์ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

เยี่ยมชม “สวนใจเขียว” วันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ผลผลิตเด่น ได้แก่ เสาวรส แก้วมังกร ทุเรียน ผักใบ สวนใจเขียว มีพื้นที่ 30 กว่าไร่ นอกจากการเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้ประกอบการ เปิดร้านอาหารโดยใช้วัตถุดิบจากในแปลงมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ และเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ มีระบบการเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองและเพาะขยายพันธุ์เอง ผลผลิตที่ได้จากแปลงยังสามารถขายให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการได้อีกด้วย “บ้านสวนพรอนันต์” ผลผลิตเด่น ได้แก่ พืชสมุนไพร ด้วยบริบทของบ้านสวนพรอนันต์ที่แตกต่างจากสวนอื่นๆ จากจุดเปลี่ยนช่วงสถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้ครอบครัวเน้นทำการเกษตรกรแบบกสิกรรมธรรมชาติ เป็นส่วนป่าดั่งเดิมปลูกพืชสมุนไพรผสมผสาน สำหรับเป็นยาบำรุงและรักษาโรค และมีกิจกรรมย้อมผ้าสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกไม้ เปลือกผลไม้ต่างๆ จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรต่างๆ

อ่านต่อ >

เชฟลุยสวน พาเยี่ยมสวนผักกูดทอง (Farm Visit)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA พาเชฟกล้า เฉลิมชัย ประกอบกิจ จากโรงแรม Trisara ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และเชฟหน่อง วิโรจน์ พลนาดี โรงแรม Rosewood ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ได้ทำความรู้จักเกษตรกรอินทรีย์ คุณลุงกัมพล กิ่งแก้ว ณ บ้านสวนผักกูดทอง ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นการเรียนรู้วิถีการทำเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่งของคุณลุงกัมพล ในการใช้ห่วงโซ่อาหารดูแลจัดการฟาร์ม และเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งผลิตผักต่างๆ ได้แก่ ผักเหนียง ผักกูด ยอดผักหมุ๋ย ยอดมะกอก ยอดมะม่วงหิมพานต์ (ผักเครื่องเคียงขนมจีน) โดยผักเหนียง และผักกูด เป็นผักที่มีปริมาณสามารถจำหน่ายได้

อ่านต่อ >

เปิดการท่องเที่ยววิถีใหม่กับ “Organic Tourism in Phuket”

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดกิจกรรม Organic Tourism in Phuket ในโอกาสการเปิดเกาะ Phuket Sandbox ต้อนรับกลุ่มนักเรียนและกลุ่มสื่อจากตลาดอเมริกาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ณ บ้านสวนผักกูดทอง กิจกรรมทั้ง 2 วันที่จัดขึ้นในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บ้านสวนผักกูดทอง อยู่ภายใต้หัวข้อของ BCG (Bio-Circular-Green) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของชาติ ที่หันมาสนับสนุนให้คนไทยหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็ได้นำ TOCA Platform มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ และทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจ มองเห็นภาพของการขับเคลื่อนเรื่อง BCG ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านการให้ผู้เข้าร่วมได้สะสม Earth Point จากกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การรับประทานอาหารให้หมดจาน การแยกขยะ การเที่ยวฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีมูลค่าในตัวเอง และในการจัดกิจกรรม TOCA ก็ได้รับการสนับสนุนจากโรงแรม Grand Mercure Phuket Patong และร้าน Torry’s Ice cream ที่เข้ามาร่วมซื้อสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ตรงจากเกษตรกรมาประกอบในมื้ออาหารให้ผู้เข้าร่วมได้รับประทาน เพื่อแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงระบบการทำงานร่วมกันของเกษตรกรอินทรีย์ และผู้ประกอบการ รวมไปถึงการตรวจสอบย้อนกลับได้ของ TOCA Platform ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าอินทรีย์ที่พวกเขาเลือกเป็นอินทรีย์อย่างแท้จริง และจะช่วยให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน BCG ในประเทศไทยได้จริง

อ่านต่อ >

ก้าวแรกของการรวมกลุ่มสร้างระบบรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดการประชุม และเชิญชวนเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ มาร่วมพูดคุย หารือแนวทางในการรวมตัวกันจัดตั้งเครือข่ายพีจีเอสภูเก็ต สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ได้มีโอกาสพบกับเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้บอกเล่าประสบการณ์การทำงานของสมาคมฯร่วมกับเกษตรกรเครือข่ายอื่นๆ และแนวทางการรวมกลุ่มสร้างระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมในวันนั้นก็มีความต้องการที่จะรวมตัวกันก่อตั้งพีจีเอสภูเก็ต จึงได้เริ่มต้นวางโครงสร้างของกลุ่ม และจัดทำข้อกำหนดของระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังได้เชิญผู้ประกอบการโรงแรม Grand Mercure Phuket มาร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อเชื่อมโยงตลาดสินค้าอินทรีย์ และสร้างแรงขับเคลื่อนให้กับสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต

อ่านต่อ >

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ชวนผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้มีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบปะผู้ประกอบการโรงแรม และร้านอาหารเพื่อพูดคุย และเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีความสนใจมาร่วมกันขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีการเดินทางไปพบตัวแทนจากผู้ประกอบการในภูเก็ตจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ Grand Mercure Phuket Patong, Torry’s Ice Cream, Trisara และ Sri panwa ซึ่งในการร่วมพูดคุยเสนอแนวทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ร่วมกันกับผู้ประกอบการทั้ง 4 แห่ง ก็ได้รับผลตอบรับที่ดี รวมถึงได้เริ่มมีการสั่งซื้อวัตถุดิบอินทรีย์ตรงจากเกษตรกรผ่าน TOCA Platform ที่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลผลิตอินทรีย์ได้ผ่าน QR Code ที่ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลการบันทึกฟาร์มของเกษตรกร ถือเป็นผลตอบรับในทางบวกที่ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยมองว่าจะช่วยนำไปสู่ความร่วมมือที่เข้มแข็ง และสามารถพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ตต่อไปได้ในอนาคต และที่สำคัญในการลงพื้นที่ขับเคลื่อนในครั้งนี้ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่เล็งเห็นถึงแนวทางการพัฒนา และสร้างวิถีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้นไป

อ่านต่อ >

TOCA ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง

เมื่อวันที่ 23 – 26 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA ได้ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำ ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มสมาคมอาหารยั่งยืนนครศรีธรรมราช และเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ของภาคใต้ รวมถึงแนะนำวิธีการบันทึกกิจกรรมฟาร์ม และการขายสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ให้กับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัด โดย 2 วันแรกของการทำงานทีม TOCA ได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกรพื้นที่ปากพญา และเกษตรกรจากพื้นที่ทุ่งโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งผลผลิตหลักของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มก็มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลผลิตอินทรีย์ที่มีอยู่บน TOCA Platform อาทิเช่น ปูดำ กุ้งกุราดำ มะละกอเรดเลดี้ เห็ดแครง เห็ดยามาบูชิตาเกะ และเห็ดมิวกี้ หลังจากนั้นทีม TOCA ก็ได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดตรัง เพื่อพบเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง โดยผลผลิตหลักของเกษตรกรในกลุ่มนี้มีทั้งพืชผักพื้นบ้าน เช่น ผักเหลียง หน่อไม้ไผ่ตงศรีปราจีน และพืชผักที่เป็นที่นิยม เช่น ผักบุ้งจีน ผักสลัดชนิดต่างๆ ซึ่งในการพบปะเกษตรกรจากทั้ง 3 พื้นที่ TOCA ก็ได้มีโอกาสแนะนำ TOCA Platform ให้เกษตรกรได้รู้จักและทดลองใช้งานฟังก์ชั่นการบันทึกกิจกรรมฟาร์มผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่จะนำไปสู่การขายสินค้าอินทรีย์ผ่านออนไลน์ให้ผู้บริโภคในจังหวัดอื่นๆ สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ไปพร้อมกับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัดต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ >

TOCA เปิดเวทีสัมมนาออนไลน์ แนะนำ ”เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม”

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยได้มีการจัดงานสัมมนาออนไลน์เพื่อแนะนำ “เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากเครื่องมือประเมินความยั่งยืนระบบอาหารและเกษตรกรรมระดับสากล SAFA ให้มีความเหมาะสม และสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยมีผู้ให้ความสนใจ และเข้าร่วมจากหลากหลายองค์กรทั่วประเทศ การสัมมนาเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงที่มาของโครงการ อันเนื่องมาจากคุณอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย เล็งเห็นว่าปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนขององค์กรหรือโครงการที่ทำงานขับเคลื่อนระบบอาหารและเกษตรกรรมที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้ผู้ถูกประเมินได้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาตนเอง ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำโครงการ “พัฒนาเครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” โดยร่วมกับองค์กรในห่วงโซ่อาหารและเกษตรกรรม 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิสังคมสุขใจ สวนสามพราน และโรงเรียนบ้านคลองใหม่ ในการร่วมพัฒนาเครื่องมือขึ้น กิจกรรมนี้บอกเล่าถึงกระบวนการทำงานให้ได้มาซึ่งเครื่องมือ ที่ผ่านการปรับแก้ และพัฒนาผ่านการทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ที่ร่วมให้ความเห็นในการพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ – ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิ่งแวดล้อม – รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐกิจ – นายปกรณ์ เลิศเสถียรชัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคม – นายวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล  กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธรรมาภิบาล – รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ อาจารย์ด้านการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – นายชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการสามพรานโมเดล นอกจากนี้ประโยชน์ของเครื่องมือนี้ไม่เพียงเป็นการประเมินเพื่อให้เห็นข้อควรปรับปรุง หรือแนวทางการพัฒนาขององค์กรผู้ประเมิน ยังมีประโยชน์ถึงการระดมทุน และประสานงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาหรือการทำงานร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นในห่วงโซ่ได้ด้วย ปิดท้ายด้วยการแนะนำแนวทางการใช้งานเครื่องมือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การประเมินฟาร์ม และการประเมินห่วงโซ่ ภายใต้ 4 มิติหลัก ได้แก่ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดจะถูกกำหนดไว้เป็นระดับ 1-5 และคะแนนเหล่านี้จะถูกสรุปออกมาในรูปแบบของกราฟใยแมงมุมหลังจบการประเมิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับความยั่งยืนในแต่ละตัวชี้วัดของผู้ถูกประเมิน ก่อนจะปิดเวทีด้วยการเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้ถามคำถาม และเสนอแนวทางการพัฒนา และการทำงานของเครื่องมือต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ >

TOCA และสามพรานโมเดลร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์พื้นที่จังหวัดเชียงราย

TOCA สามพรานโมเดล และคณะกรรมการจากกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงรายในแต่ละพื้นที่ ร่วมกันระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อถอดบทเรียนจากการทำงาน และสร้างภาพที่ชัดเจนของการดำเนินงานในอนาคตให้กับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สามพรานโมเดลและ TOCA ได้ร่วมบอกเล่าเรื่องราว เส้นทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในมุมมองของทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย ก่อนเข้าสู่กิจกรรม Workshop ถอดบทเรียนจากการทำงานขับเคลื่อน เพื่อให้สมาชิกได้มองเห็นถึงข้อดี และสิ่งที่ควรพัฒนาต่อไปในอนาคตของกลุ่ม

อ่านต่อ >

TOCA ชวนสมาชิกผู้บริโภคจาก Young Happy เที่ยวสวนลุงประกฤติ Organic กับสามพรานโมเดล

TOCA และสมาชิกผู้บริโภคจาก Young Happy ร่วมเดินทางไปเที่ยวชมสวนลุงประกฤติ Organic จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ในกิจกรรม Organic Tourism ต่อยอดเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้สมาชิก Young Happy ผ่านการเรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์จริงในแปลงอินทรีย์ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์กับ TOCA และสามพรานโมเดล เริ่มต้นด้วยการนั่งเรือเข้าสวนลุงประกฤติ ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรในชุมชน พบปะทักทายสมาชิกเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่วมใจ ฟังเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่ม และสวนลุงประกฤติ ต่อด้วยการล่องเรือโฟมชมสวนชมพู่อินทรีย์ รับอากาศบริสุทธิ์ พร้อมเก็บชมพู่อินทรีย์จากต้น และร่วมชมสาธิตวิธีการสานตะกร้าจากทางมะพร้าว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน นำสิ่งที่อยู่ในแปลงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเรียนรู้วิธีการเพาะต้นอ่อนผักบุ้ง สาธิตโดยเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ตั้งแต่การเตรียมดิน การเลือกเมล็ดพันธุ์ และการเพาะลงแปลงปลูก ซึ่งเกษตรกรได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ และเทคนิคให้แบบไม่มีกั๊ก ก่อนเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมที่เปิดเวทีให้สมาชิกผู้บริโภคจาก Young Happy ได้แสดงความคิดเห็น บอกเล่าความประทับใจ และแนวทางการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปต่อยอดให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในอนาคต ซึ่งหลายท่านมองว่ากิจกรรมท่องเที่ยววิถีอินทรีย์เป็นกิจกรรมที่จะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจในวิถีออินทรีย์ได้มากขึ้น ผ่านการสัมผัสประสบการณ์จริง ลงมือทำจริง รวมถึงจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงการรับประทานอาหารปลอดภัยเพื่อดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อ่านต่อ >

TOCA & สามพรานโมเดล ชวนเที่ยวชมสวนกับกิจกรรม Organic Tourism @กลุ่มหัวใจอินทรีย์

TOCA และสามพรานโมเดลจับมือกันชักชวนผู้บริโภคมาดูให้รู้จริงถึงแหล่งที่มาของสินค้าอินทรีย์ ในกิจกรรมท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ หรือ Organic Tourism ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา พากลุ่มผู้บริโภค และผู้ประกอบการไปที่ฟาร์มเกษตรกร สัมผัสประสบการณ์จริงในแปลงอินทรีย์ ให้ได้เรียนรู้ เข้าใจ และลงมือทำจริงด้วยตนเอง ปัจจุบันเรื่องเล่า และใบรับรองไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าอินทรีย์ให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่การลงไปดูให้เห็น ไปสัมผัสด้วยตัวเองจะช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในเกษตรกร และสินค้าอินทรีย์มากขึ้น TOCA และสามพรานโมเดลจึงถือโอกาสนี้พาผู้บริโภคไปท่องเที่ยวในฟาร์มจริง พบเกษตรกรอินทรีย์ตัวจริง กับแพคเกจ DIY พึ่งพาตนเองกับเกษตรทฤษฏีใหม่ ที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อต้อนรับผู้บริโภค พบคุณอรุณี ประธานกลุ่ม ฟังเรื่องราวความเป็นมา และการทำเกษตรอินทรีย์ พร้อมรับประทานน้ำอ้อย และกล้วยตากแสนอร่อยที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ก่อนลงเดินชมแปลงอินทรีย์ของจริง โดยมีคุณอรุณีเป็นผู้นำเดินชมพร้อมเล่าเรื่องราวบริบทภายในแปลง หลังจากเรียนรู้ และทำความเข้าใจวิถีเกษตรอินทรีย์แล้ว ต่อด้วยกิจกรรม Workshop ที่ผู้เข้าร่วมจะได้ลงมือทำจริง ได้แก่ การเพาะต้นอ่อนผักบุ้งอินทรีย์ ที่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เทคนิค และลองปลูกด้วยตนเอง, การทำปุ๋ยหมัก และสมุนไพรไล่แมลง ให้ผู้เข้าร่วมได้เป็นส่วนหนึ่งในการสาธิต การทำน้ำหมัก สมุนไพรไล่แมลง และสูตรการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง และที่ขาดไม่ได้คือ Workshop การทำเต้าหู้อินทรีย์ หนึ่งในสินค้าแนะนำของกลุ่มหัวใจอินทรีย์ ซึ่งคุณอรุณีก็ได้สอนวิธีการทำ และเทคนิคต่างๆแบบไม่มีกั๊ก พร้อมให้ผู้เข้าร่วมได้ลองลงมือทำเองอีกด้วย ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมมีการเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมได้บอกเล่าความประทับใจ สิ่งที่ได้รับในหนึ่งวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการได้มาพื้นที่จริง สัมผัสประสบการณ์ด้วยตนเองทำให้ผู้บริโภคที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มองเห็นมุมใหม่ๆของเกษตรอินทรีย์ ตระหนักรู้ถึงการดูแลสุขภาพ และการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

อ่านต่อ >

Farm Visit สวนใจเขียว และบ้านสวนพรอนันต์ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

เยี่ยมชม “สวนใจเขียว” วันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ผลผลิตเด่น ได้แก่ เสาวรส แก้วมังกร ทุเรียน ผักใบ สวนใจเขียว มีพื้นที่ 30 กว่าไร่ นอกจากการเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้ประกอบการ เปิดร้านอาหารโดยใช้วัตถุดิบจากในแปลงมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ และเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ มีระบบการเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองและเพาะขยายพันธุ์เอง ผลผลิตที่ได้จากแปลงยังสามารถขายให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการได้อีกด้วย “บ้านสวนพรอนันต์” ผลผลิตเด่น ได้แก่ พืชสมุนไพร ด้วยบริบทของบ้านสวนพรอนันต์ที่แตกต่างจากสวนอื่นๆ จากจุดเปลี่ยนช่วงสถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้ครอบครัวเน้นทำการเกษตรกรแบบกสิกรรมธรรมชาติ เป็นส่วนป่าดั่งเดิมปลูกพืชสมุนไพรผสมผสาน สำหรับเป็นยาบำรุงและรักษาโรค และมีกิจกรรมย้อมผ้าสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกไม้ เปลือกผลไม้ต่างๆ จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรต่างๆ

อ่านต่อ >

เชฟลุยสวน พาเยี่ยมสวนผักกูดทอง (Farm Visit)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA พาเชฟกล้า เฉลิมชัย ประกอบกิจ จากโรงแรม Trisara ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และเชฟหน่อง วิโรจน์ พลนาดี โรงแรม Rosewood ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ได้ทำความรู้จักเกษตรกรอินทรีย์ คุณลุงกัมพล กิ่งแก้ว ณ บ้านสวนผักกูดทอง ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นการเรียนรู้วิถีการทำเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่งของคุณลุงกัมพล ในการใช้ห่วงโซ่อาหารดูแลจัดการฟาร์ม และเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งผลิตผักต่างๆ ได้แก่ ผักเหนียง ผักกูด ยอดผักหมุ๋ย ยอดมะกอก ยอดมะม่วงหิมพานต์ (ผักเครื่องเคียงขนมจีน) โดยผักเหนียง และผักกูด เป็นผักที่มีปริมาณสามารถจำหน่ายได้

อ่านต่อ >

เปิดการท่องเที่ยววิถีใหม่กับ “Organic Tourism in Phuket”

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดกิจกรรม Organic Tourism in Phuket ในโอกาสการเปิดเกาะ Phuket Sandbox ต้อนรับกลุ่มนักเรียนและกลุ่มสื่อจากตลาดอเมริกาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ณ บ้านสวนผักกูดทอง กิจกรรมทั้ง 2 วันที่จัดขึ้นในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บ้านสวนผักกูดทอง อยู่ภายใต้หัวข้อของ BCG (Bio-Circular-Green) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของชาติ ที่หันมาสนับสนุนให้คนไทยหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็ได้นำ TOCA Platform มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ และทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจ มองเห็นภาพของการขับเคลื่อนเรื่อง BCG ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านการให้ผู้เข้าร่วมได้สะสม Earth Point จากกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การรับประทานอาหารให้หมดจาน การแยกขยะ การเที่ยวฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีมูลค่าในตัวเอง และในการจัดกิจกรรม TOCA ก็ได้รับการสนับสนุนจากโรงแรม Grand Mercure Phuket Patong และร้าน Torry’s Ice cream ที่เข้ามาร่วมซื้อสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ตรงจากเกษตรกรมาประกอบในมื้ออาหารให้ผู้เข้าร่วมได้รับประทาน เพื่อแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงระบบการทำงานร่วมกันของเกษตรกรอินทรีย์ และผู้ประกอบการ รวมไปถึงการตรวจสอบย้อนกลับได้ของ TOCA Platform ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าอินทรีย์ที่พวกเขาเลือกเป็นอินทรีย์อย่างแท้จริง และจะช่วยให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน BCG ในประเทศไทยได้จริง

อ่านต่อ >

ก้าวแรกของการรวมกลุ่มสร้างระบบรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดการประชุม และเชิญชวนเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ มาร่วมพูดคุย หารือแนวทางในการรวมตัวกันจัดตั้งเครือข่ายพีจีเอสภูเก็ต สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ได้มีโอกาสพบกับเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้บอกเล่าประสบการณ์การทำงานของสมาคมฯร่วมกับเกษตรกรเครือข่ายอื่นๆ และแนวทางการรวมกลุ่มสร้างระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมในวันนั้นก็มีความต้องการที่จะรวมตัวกันก่อตั้งพีจีเอสภูเก็ต จึงได้เริ่มต้นวางโครงสร้างของกลุ่ม และจัดทำข้อกำหนดของระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังได้เชิญผู้ประกอบการโรงแรม Grand Mercure Phuket มาร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อเชื่อมโยงตลาดสินค้าอินทรีย์ และสร้างแรงขับเคลื่อนให้กับสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต

อ่านต่อ >

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ชวนผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้มีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบปะผู้ประกอบการโรงแรม และร้านอาหารเพื่อพูดคุย และเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีความสนใจมาร่วมกันขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีการเดินทางไปพบตัวแทนจากผู้ประกอบการในภูเก็ตจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ Grand Mercure Phuket Patong, Torry’s Ice Cream, Trisara และ Sri panwa ซึ่งในการร่วมพูดคุยเสนอแนวทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ร่วมกันกับผู้ประกอบการทั้ง 4 แห่ง ก็ได้รับผลตอบรับที่ดี รวมถึงได้เริ่มมีการสั่งซื้อวัตถุดิบอินทรีย์ตรงจากเกษตรกรผ่าน TOCA Platform ที่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลผลิตอินทรีย์ได้ผ่าน QR Code ที่ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลการบันทึกฟาร์มของเกษตรกร ถือเป็นผลตอบรับในทางบวกที่ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยมองว่าจะช่วยนำไปสู่ความร่วมมือที่เข้มแข็ง และสามารถพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ตต่อไปได้ในอนาคต และที่สำคัญในการลงพื้นที่ขับเคลื่อนในครั้งนี้ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่เล็งเห็นถึงแนวทางการพัฒนา และสร้างวิถีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้นไป

อ่านต่อ >

TOCA ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง

เมื่อวันที่ 23 – 26 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA ได้ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำ ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มสมาคมอาหารยั่งยืนนครศรีธรรมราช และเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ของภาคใต้ รวมถึงแนะนำวิธีการบันทึกกิจกรรมฟาร์ม และการขายสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ให้กับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัด โดย 2 วันแรกของการทำงานทีม TOCA ได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกรพื้นที่ปากพญา และเกษตรกรจากพื้นที่ทุ่งโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งผลผลิตหลักของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มก็มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลผลิตอินทรีย์ที่มีอยู่บน TOCA Platform อาทิเช่น ปูดำ กุ้งกุราดำ มะละกอเรดเลดี้ เห็ดแครง เห็ดยามาบูชิตาเกะ และเห็ดมิวกี้ หลังจากนั้นทีม TOCA ก็ได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดตรัง เพื่อพบเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง โดยผลผลิตหลักของเกษตรกรในกลุ่มนี้มีทั้งพืชผักพื้นบ้าน เช่น ผักเหลียง หน่อไม้ไผ่ตงศรีปราจีน และพืชผักที่เป็นที่นิยม เช่น ผักบุ้งจีน ผักสลัดชนิดต่างๆ ซึ่งในการพบปะเกษตรกรจากทั้ง 3 พื้นที่ TOCA ก็ได้มีโอกาสแนะนำ TOCA Platform ให้เกษตรกรได้รู้จักและทดลองใช้งานฟังก์ชั่นการบันทึกกิจกรรมฟาร์มผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่จะนำไปสู่การขายสินค้าอินทรีย์ผ่านออนไลน์ให้ผู้บริโภคในจังหวัดอื่นๆ สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ไปพร้อมกับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัดต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ >

TOCA เปิดเวทีสัมมนาออนไลน์ แนะนำ ”เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม”

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยได้มีการจัดงานสัมมนาออนไลน์เพื่อแนะนำ “เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากเครื่องมือประเมินความยั่งยืนระบบอาหารและเกษตรกรรมระดับสากล SAFA ให้มีความเหมาะสม และสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยมีผู้ให้ความสนใจ และเข้าร่วมจากหลากหลายองค์กรทั่วประเทศ การสัมมนาเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงที่มาของโครงการ อันเนื่องมาจากคุณอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย เล็งเห็นว่าปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนขององค์กรหรือโครงการที่ทำงานขับเคลื่อนระบบอาหารและเกษตรกรรมที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้ผู้ถูกประเมินได้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาตนเอง ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำโครงการ “พัฒนาเครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” โดยร่วมกับองค์กรในห่วงโซ่อาหารและเกษตรกรรม 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิสังคมสุขใจ สวนสามพราน และโรงเรียนบ้านคลองใหม่ ในการร่วมพัฒนาเครื่องมือขึ้น กิจกรรมนี้บอกเล่าถึงกระบวนการทำงานให้ได้มาซึ่งเครื่องมือ ที่ผ่านการปรับแก้ และพัฒนาผ่านการทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ที่ร่วมให้ความเห็นในการพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ – ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิ่งแวดล้อม – รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐกิจ – นายปกรณ์ เลิศเสถียรชัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคม – นายวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล  กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธรรมาภิบาล – รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ อาจารย์ด้านการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – นายชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการสามพรานโมเดล นอกจากนี้ประโยชน์ของเครื่องมือนี้ไม่เพียงเป็นการประเมินเพื่อให้เห็นข้อควรปรับปรุง หรือแนวทางการพัฒนาขององค์กรผู้ประเมิน ยังมีประโยชน์ถึงการระดมทุน และประสานงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาหรือการทำงานร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นในห่วงโซ่ได้ด้วย ปิดท้ายด้วยการแนะนำแนวทางการใช้งานเครื่องมือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การประเมินฟาร์ม และการประเมินห่วงโซ่ ภายใต้ 4 มิติหลัก ได้แก่ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดจะถูกกำหนดไว้เป็นระดับ 1-5 และคะแนนเหล่านี้จะถูกสรุปออกมาในรูปแบบของกราฟใยแมงมุมหลังจบการประเมิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับความยั่งยืนในแต่ละตัวชี้วัดของผู้ถูกประเมิน ก่อนจะปิดเวทีด้วยการเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้ถามคำถาม และเสนอแนวทางการพัฒนา และการทำงานของเครื่องมือต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ >

TOCA และสามพรานโมเดลร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์พื้นที่จังหวัดเชียงราย

TOCA สามพรานโมเดล และคณะกรรมการจากกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงรายในแต่ละพื้นที่ ร่วมกันระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อถอดบทเรียนจากการทำงาน และสร้างภาพที่ชัดเจนของการดำเนินงานในอนาคตให้กับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สามพรานโมเดลและ TOCA ได้ร่วมบอกเล่าเรื่องราว เส้นทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในมุมมองของทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย ก่อนเข้าสู่กิจกรรม Workshop ถอดบทเรียนจากการทำงานขับเคลื่อน เพื่อให้สมาชิกได้มองเห็นถึงข้อดี และสิ่งที่ควรพัฒนาต่อไปในอนาคตของกลุ่ม

อ่านต่อ >

TOCA ชวนสมาชิกผู้บริโภคจาก Young Happy เที่ยวสวนลุงประกฤติ Organic กับสามพรานโมเดล

TOCA และสมาชิกผู้บริโภคจาก Young Happy ร่วมเดินทางไปเที่ยวชมสวนลุงประกฤติ Organic จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ในกิจกรรม Organic Tourism ต่อยอดเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้สมาชิก Young Happy ผ่านการเรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์จริงในแปลงอินทรีย์ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์กับ TOCA และสามพรานโมเดล เริ่มต้นด้วยการนั่งเรือเข้าสวนลุงประกฤติ ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรในชุมชน พบปะทักทายสมาชิกเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่วมใจ ฟังเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่ม และสวนลุงประกฤติ ต่อด้วยการล่องเรือโฟมชมสวนชมพู่อินทรีย์ รับอากาศบริสุทธิ์ พร้อมเก็บชมพู่อินทรีย์จากต้น และร่วมชมสาธิตวิธีการสานตะกร้าจากทางมะพร้าว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน นำสิ่งที่อยู่ในแปลงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเรียนรู้วิธีการเพาะต้นอ่อนผักบุ้ง สาธิตโดยเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ตั้งแต่การเตรียมดิน การเลือกเมล็ดพันธุ์ และการเพาะลงแปลงปลูก ซึ่งเกษตรกรได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ และเทคนิคให้แบบไม่มีกั๊ก ก่อนเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมที่เปิดเวทีให้สมาชิกผู้บริโภคจาก Young Happy ได้แสดงความคิดเห็น บอกเล่าความประทับใจ และแนวทางการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปต่อยอดให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในอนาคต ซึ่งหลายท่านมองว่ากิจกรรมท่องเที่ยววิถีอินทรีย์เป็นกิจกรรมที่จะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจในวิถีออินทรีย์ได้มากขึ้น ผ่านการสัมผัสประสบการณ์จริง ลงมือทำจริง รวมถึงจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงการรับประทานอาหารปลอดภัยเพื่อดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อ่านต่อ >

TOCA & สามพรานโมเดล ชวนเที่ยวชมสวนกับกิจกรรม Organic Tourism @กลุ่มหัวใจอินทรีย์

TOCA และสามพรานโมเดลจับมือกันชักชวนผู้บริโภคมาดูให้รู้จริงถึงแหล่งที่มาของสินค้าอินทรีย์ ในกิจกรรมท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ หรือ Organic Tourism ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา พากลุ่มผู้บริโภค และผู้ประกอบการไปที่ฟาร์มเกษตรกร สัมผัสประสบการณ์จริงในแปลงอินทรีย์ ให้ได้เรียนรู้ เข้าใจ และลงมือทำจริงด้วยตนเอง ปัจจุบันเรื่องเล่า และใบรับรองไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าอินทรีย์ให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่การลงไปดูให้เห็น ไปสัมผัสด้วยตัวเองจะช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในเกษตรกร และสินค้าอินทรีย์มากขึ้น TOCA และสามพรานโมเดลจึงถือโอกาสนี้พาผู้บริโภคไปท่องเที่ยวในฟาร์มจริง พบเกษตรกรอินทรีย์ตัวจริง กับแพคเกจ DIY พึ่งพาตนเองกับเกษตรทฤษฏีใหม่ ที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อต้อนรับผู้บริโภค พบคุณอรุณี ประธานกลุ่ม ฟังเรื่องราวความเป็นมา และการทำเกษตรอินทรีย์ พร้อมรับประทานน้ำอ้อย และกล้วยตากแสนอร่อยที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ก่อนลงเดินชมแปลงอินทรีย์ของจริง โดยมีคุณอรุณีเป็นผู้นำเดินชมพร้อมเล่าเรื่องราวบริบทภายในแปลง หลังจากเรียนรู้ และทำความเข้าใจวิถีเกษตรอินทรีย์แล้ว ต่อด้วยกิจกรรม Workshop ที่ผู้เข้าร่วมจะได้ลงมือทำจริง ได้แก่ การเพาะต้นอ่อนผักบุ้งอินทรีย์ ที่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เทคนิค และลองปลูกด้วยตนเอง, การทำปุ๋ยหมัก และสมุนไพรไล่แมลง ให้ผู้เข้าร่วมได้เป็นส่วนหนึ่งในการสาธิต การทำน้ำหมัก สมุนไพรไล่แมลง และสูตรการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง และที่ขาดไม่ได้คือ Workshop การทำเต้าหู้อินทรีย์ หนึ่งในสินค้าแนะนำของกลุ่มหัวใจอินทรีย์ ซึ่งคุณอรุณีก็ได้สอนวิธีการทำ และเทคนิคต่างๆแบบไม่มีกั๊ก พร้อมให้ผู้เข้าร่วมได้ลองลงมือทำเองอีกด้วย ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมมีการเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมได้บอกเล่าความประทับใจ สิ่งที่ได้รับในหนึ่งวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการได้มาพื้นที่จริง สัมผัสประสบการณ์ด้วยตนเองทำให้ผู้บริโภคที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มองเห็นมุมใหม่ๆของเกษตรอินทรีย์ ตระหนักรู้ถึงการดูแลสุขภาพ และการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

อ่านต่อ >