
Farm Visit สวนเพชรการ์เด้น อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
ทีม TOCA มีโอกาสได้เยี่ยมชมสวนเพชรการ์เด้น ณ The Garden นำโดยคุณสันติ สุวัณณาคาร ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ และดำเนินการทำเกษตรแบบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ยึดมั่นแนวทางเศรฐกิจพอเพียงสัมพันธ์กับการทำเกษตรในฟาร์ม เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวการทำเกษตรอินทรีย์และการบริหารจัดการของฟาร์ม สำหรับพัฒนาเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเกษตรอินทรีย์ได้ การเยี่ยมชมครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกระบวนการทำอินทรีย์ รวมถึงรูปแบบระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม พีจีเอสของเครือข่าย PGS Organic Phuket ซึ่งสวนเพชรการ์เด้นค่อนข้างมีความพร้อมกับกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจอยู่มากและเห็นถึงความสำคัญของวิถีอินทรีย์ ห่วงโซ่อาหารที่ปลอดภัยของสังคม จนไปถึงมีความต้องการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจการทำเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวได้รับรู้และร่วมเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยกับตนเองและคนในสังคม โดยมีแผนจัดการพื้นที่บางส่วนสำหรับเป็นจุดกิจกรรมเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ที่ฟาร์มรวมถึงวัฒนธรรมของภูเก็ตผ่านมิวเซียมใน The Garden ได้อีกด้วย จากความตั้งใจของคุณสันติที่พร้อมเริ่มกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์นั้นสามารถเป็นต้นแบบให้กับสมาชิกเครือข่ายเพื่อเข้ามาศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ประชุมกรรมการเครือข่าย PGS Organic Phuket
จากการทำงานเชื่อมผู้ประกอบการ ผู้บริโภคซื้อสินค้าอินทรีย์จากเกษตรกรอินทรีย์ ผ่าน TOCA Platform จึงเกิดการประชุมร่วมกับกรรมการเครือข่าย PGS Organic Phuket และอาจารย์กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ในการร่วมวางแผนโครงสร้างบริหารจัดการเครือข่าย การวางแนวทางการขับเคลื่อนและการเตรียมแผนเรื่องการอบรมผู้ตรวจแปลง ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ และการใช้งาน TOCA Platform โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณืทำงานการขับเคลื่อนกลุ่มพีจีเอสสามพรานโมเดล ซึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนในการวางแผนได้ พร้อมแนะนำมุมมองด้านการตลาดของการขับเคลื่อนแบบรวมกลุ่ม และแนะนำการวางแผนขับเคลื่อนเครือข่ายด้วยพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีจำนวนผู้ประกอบการหรือตลาดรองรับสินค้าอินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายสามารถทำได้ทั้งแนวทางการรวมตัวหรือการขายรายเดี่ยวเพียงแค่มีความโปร่งใส ความเชื่อมั่นของสินค้าให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าเราได้ การทำ Branding ของกลุ่มการทำให้ PGS ของเครือข่ายเข้มแข็ง โปร่งใส และเชื่อมั่นได้ คือใจความสำคัญของการทำ Branding การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางของข้อกำหนด PGS อย่างถูกต้องจะสร้างผลดีให้กับเกษตรกรและพื้นที่ได้ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่การันตีความเป็นอินทรีย์ให้กับสินค้าและทำให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็งได้ คณะกรรมการมีความเห็นพร้อมกันถึงการวางโครงสร้างการบริหารจัดการเครือข่ายให้เป็นแบบแผน เพื่อทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันและยั่งยืน และเห็นว่า TOCA Platform จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อการบันทึกกิจกรรมฟาร์มสำหรับการเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ของเครือข่าย สามารถเรียกดูรายงานกิจกรรมออนไลน์ได้ ตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลที่ทำการบันทึกได้ รวมถึงยังเป็นช่องทางการตลาดของเครือข่ายในการเชื่อมผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้อีกด้วย คณะกรรมการจะนัดหมายเพื่อวางแผนโครงสร้างร่วมกันอีกครั้งเพื่อชี้แจงและขอความเห็นกับสมาชิกส่วนใหญ่อีกครั้ง

Farm Visit สวนใจเขียว และบ้านสวนพรอนันต์ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
เยี่ยมชม “สวนใจเขียว” วันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ผลผลิตเด่น ได้แก่ เสาวรส แก้วมังกร ทุเรียน ผักใบ สวนใจเขียว มีพื้นที่ 30 กว่าไร่ นอกจากการเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้ประกอบการ เปิดร้านอาหารโดยใช้วัตถุดิบจากในแปลงมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ และเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ มีระบบการเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองและเพาะขยายพันธุ์เอง ผลผลิตที่ได้จากแปลงยังสามารถขายให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการได้อีกด้วย “บ้านสวนพรอนันต์” ผลผลิตเด่น ได้แก่ พืชสมุนไพร ด้วยบริบทของบ้านสวนพรอนันต์ที่แตกต่างจากสวนอื่นๆ จากจุดเปลี่ยนช่วงสถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้ครอบครัวเน้นทำการเกษตรกรแบบกสิกรรมธรรมชาติ เป็นส่วนป่าดั่งเดิมปลูกพืชสมุนไพรผสมผสาน สำหรับเป็นยาบำรุงและรักษาโรค และมีกิจกรรมย้อมผ้าสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกไม้ เปลือกผลไม้ต่างๆ จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรต่างๆ

เชฟลุยสวน พาเยี่ยมสวนผักกูดทอง (Farm Visit)
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA พาเชฟกล้า เฉลิมชัย ประกอบกิจ จากโรงแรม Trisara ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และเชฟหน่อง วิโรจน์ พลนาดี โรงแรม Rosewood ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ได้ทำความรู้จักเกษตรกรอินทรีย์ คุณลุงกัมพล กิ่งแก้ว ณ บ้านสวนผักกูดทอง ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นการเรียนรู้วิถีการทำเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่งของคุณลุงกัมพล ในการใช้ห่วงโซ่อาหารดูแลจัดการฟาร์ม และเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งผลิตผักต่างๆ ได้แก่ ผักเหนียง ผักกูด ยอดผักหมุ๋ย ยอดมะกอก ยอดมะม่วงหิมพานต์ (ผักเครื่องเคียงขนมจีน) โดยผักเหนียง และผักกูด เป็นผักที่มีปริมาณสามารถจำหน่ายได้

เปิดการท่องเที่ยววิถีใหม่กับ “Organic Tourism in Phuket”
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดกิจกรรม Organic Tourism in Phuket ในโอกาสการเปิดเกาะ Phuket Sandbox ต้อนรับกลุ่มนักเรียนและกลุ่มสื่อจากตลาดอเมริกาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ณ บ้านสวนผักกูดทอง กิจกรรมทั้ง 2 วันที่จัดขึ้นในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บ้านสวนผักกูดทอง อยู่ภายใต้หัวข้อของ BCG (Bio-Circular-Green) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของชาติ ที่หันมาสนับสนุนให้คนไทยหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็ได้นำ TOCA Platform มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ และทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจ มองเห็นภาพของการขับเคลื่อนเรื่อง BCG ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านการให้ผู้เข้าร่วมได้สะสม Earth Point จากกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การรับประทานอาหารให้หมดจาน การแยกขยะ การเที่ยวฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีมูลค่าในตัวเอง และในการจัดกิจกรรม TOCA ก็ได้รับการสนับสนุนจากโรงแรม Grand Mercure Phuket Patong และร้าน Torry’s Ice cream ที่เข้ามาร่วมซื้อสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ตรงจากเกษตรกรมาประกอบในมื้ออาหารให้ผู้เข้าร่วมได้รับประทาน เพื่อแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงระบบการทำงานร่วมกันของเกษตรกรอินทรีย์ และผู้ประกอบการ รวมไปถึงการตรวจสอบย้อนกลับได้ของ TOCA Platform ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าอินทรีย์ที่พวกเขาเลือกเป็นอินทรีย์อย่างแท้จริง และจะช่วยให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน BCG ในประเทศไทยได้จริง

ก้าวแรกของการรวมกลุ่มสร้างระบบรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดการประชุม และเชิญชวนเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ มาร่วมพูดคุย หารือแนวทางในการรวมตัวกันจัดตั้งเครือข่ายพีจีเอสภูเก็ต สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ได้มีโอกาสพบกับเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้บอกเล่าประสบการณ์การทำงานของสมาคมฯร่วมกับเกษตรกรเครือข่ายอื่นๆ และแนวทางการรวมกลุ่มสร้างระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมในวันนั้นก็มีความต้องการที่จะรวมตัวกันก่อตั้งพีจีเอสภูเก็ต จึงได้เริ่มต้นวางโครงสร้างของกลุ่ม และจัดทำข้อกำหนดของระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังได้เชิญผู้ประกอบการโรงแรม Grand Mercure Phuket มาร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อเชื่อมโยงตลาดสินค้าอินทรีย์ และสร้างแรงขับเคลื่อนให้กับสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ชวนผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์
สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้มีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบปะผู้ประกอบการโรงแรม และร้านอาหารเพื่อพูดคุย และเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีความสนใจมาร่วมกันขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีการเดินทางไปพบตัวแทนจากผู้ประกอบการในภูเก็ตจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ Grand Mercure Phuket Patong, Torry’s Ice Cream, Trisara และ Sri panwa ซึ่งในการร่วมพูดคุยเสนอแนวทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ร่วมกันกับผู้ประกอบการทั้ง 4 แห่ง ก็ได้รับผลตอบรับที่ดี รวมถึงได้เริ่มมีการสั่งซื้อวัตถุดิบอินทรีย์ตรงจากเกษตรกรผ่าน TOCA Platform ที่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลผลิตอินทรีย์ได้ผ่าน QR Code ที่ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลการบันทึกฟาร์มของเกษตรกร ถือเป็นผลตอบรับในทางบวกที่ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยมองว่าจะช่วยนำไปสู่ความร่วมมือที่เข้มแข็ง และสามารถพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ตต่อไปได้ในอนาคต และที่สำคัญในการลงพื้นที่ขับเคลื่อนในครั้งนี้ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่เล็งเห็นถึงแนวทางการพัฒนา และสร้างวิถีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้นไป

TOCA ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง
เมื่อวันที่ 23 – 26 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA ได้ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำ ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มสมาคมอาหารยั่งยืนนครศรีธรรมราช และเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ของภาคใต้ รวมถึงแนะนำวิธีการบันทึกกิจกรรมฟาร์ม และการขายสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ให้กับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัด โดย 2 วันแรกของการทำงานทีม TOCA ได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกรพื้นที่ปากพญา และเกษตรกรจากพื้นที่ทุ่งโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งผลผลิตหลักของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มก็มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลผลิตอินทรีย์ที่มีอยู่บน TOCA Platform อาทิเช่น ปูดำ กุ้งกุราดำ มะละกอเรดเลดี้ เห็ดแครง เห็ดยามาบูชิตาเกะ และเห็ดมิวกี้ หลังจากนั้นทีม TOCA ก็ได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดตรัง เพื่อพบเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง โดยผลผลิตหลักของเกษตรกรในกลุ่มนี้มีทั้งพืชผักพื้นบ้าน เช่น ผักเหลียง หน่อไม้ไผ่ตงศรีปราจีน และพืชผักที่เป็นที่นิยม เช่น ผักบุ้งจีน ผักสลัดชนิดต่างๆ ซึ่งในการพบปะเกษตรกรจากทั้ง 3 พื้นที่ TOCA ก็ได้มีโอกาสแนะนำ TOCA Platform ให้เกษตรกรได้รู้จักและทดลองใช้งานฟังก์ชั่นการบันทึกกิจกรรมฟาร์มผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่จะนำไปสู่การขายสินค้าอินทรีย์ผ่านออนไลน์ให้ผู้บริโภคในจังหวัดอื่นๆ สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ไปพร้อมกับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัดต่อไปในอนาคต

TOCA เปิดเวทีสัมมนาออนไลน์ แนะนำ ”เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม”
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยได้มีการจัดงานสัมมนาออนไลน์เพื่อแนะนำ “เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากเครื่องมือประเมินความยั่งยืนระบบอาหารและเกษตรกรรมระดับสากล SAFA ให้มีความเหมาะสม และสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยมีผู้ให้ความสนใจ และเข้าร่วมจากหลากหลายองค์กรทั่วประเทศ การสัมมนาเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงที่มาของโครงการ อันเนื่องมาจากคุณอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย เล็งเห็นว่าปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนขององค์กรหรือโครงการที่ทำงานขับเคลื่อนระบบอาหารและเกษตรกรรมที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้ผู้ถูกประเมินได้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาตนเอง ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำโครงการ “พัฒนาเครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” โดยร่วมกับองค์กรในห่วงโซ่อาหารและเกษตรกรรม 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิสังคมสุขใจ สวนสามพราน และโรงเรียนบ้านคลองใหม่ ในการร่วมพัฒนาเครื่องมือขึ้น กิจกรรมนี้บอกเล่าถึงกระบวนการทำงานให้ได้มาซึ่งเครื่องมือ ที่ผ่านการปรับแก้ และพัฒนาผ่านการทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ที่ร่วมให้ความเห็นในการพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ – ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิ่งแวดล้อม – รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐกิจ – นายปกรณ์ เลิศเสถียรชัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคม – นายวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธรรมาภิบาล – รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ อาจารย์ด้านการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – นายชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการสามพรานโมเดล นอกจากนี้ประโยชน์ของเครื่องมือนี้ไม่เพียงเป็นการประเมินเพื่อให้เห็นข้อควรปรับปรุง หรือแนวทางการพัฒนาขององค์กรผู้ประเมิน ยังมีประโยชน์ถึงการระดมทุน และประสานงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาหรือการทำงานร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นในห่วงโซ่ได้ด้วย ปิดท้ายด้วยการแนะนำแนวทางการใช้งานเครื่องมือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การประเมินฟาร์ม และการประเมินห่วงโซ่ ภายใต้ 4 มิติหลัก ได้แก่ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดจะถูกกำหนดไว้เป็นระดับ 1-5 และคะแนนเหล่านี้จะถูกสรุปออกมาในรูปแบบของกราฟใยแมงมุมหลังจบการประเมิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับความยั่งยืนในแต่ละตัวชี้วัดของผู้ถูกประเมิน ก่อนจะปิดเวทีด้วยการเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้ถามคำถาม และเสนอแนวทางการพัฒนา และการทำงานของเครื่องมือต่อไปในอนาคต

TOCA และสามพรานโมเดลร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์พื้นที่จังหวัดเชียงราย
TOCA สามพรานโมเดล และคณะกรรมการจากกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงรายในแต่ละพื้นที่ ร่วมกันระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อถอดบทเรียนจากการทำงาน และสร้างภาพที่ชัดเจนของการดำเนินงานในอนาคตให้กับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สามพรานโมเดลและ TOCA ได้ร่วมบอกเล่าเรื่องราว เส้นทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในมุมมองของทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย ก่อนเข้าสู่กิจกรรม Workshop ถอดบทเรียนจากการทำงานขับเคลื่อน เพื่อให้สมาชิกได้มองเห็นถึงข้อดี และสิ่งที่ควรพัฒนาต่อไปในอนาคตของกลุ่ม

Farm Visit สวนเพชรการ์เด้น อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
ทีม TOCA มีโอกาสได้เยี่ยมชมสวนเพชรการ์เด้น ณ The Garden นำโดยคุณสันติ สุวัณณาคาร ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ และดำเนินการทำเกษตรแบบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ยึดมั่นแนวทางเศรฐกิจพอเพียงสัมพันธ์กับการทำเกษตรในฟาร์ม เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวการทำเกษตรอินทรีย์และการบริหารจัดการของฟาร์ม สำหรับพัฒนาเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเกษตรอินทรีย์ได้ การเยี่ยมชมครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกระบวนการทำอินทรีย์ รวมถึงรูปแบบระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม พีจีเอสของเครือข่าย PGS Organic Phuket ซึ่งสวนเพชรการ์เด้นค่อนข้างมีความพร้อมกับกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจอยู่มากและเห็นถึงความสำคัญของวิถีอินทรีย์ ห่วงโซ่อาหารที่ปลอดภัยของสังคม จนไปถึงมีความต้องการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจการทำเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวได้รับรู้และร่วมเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยกับตนเองและคนในสังคม โดยมีแผนจัดการพื้นที่บางส่วนสำหรับเป็นจุดกิจกรรมเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ที่ฟาร์มรวมถึงวัฒนธรรมของภูเก็ตผ่านมิวเซียมใน The Garden ได้อีกด้วย จากความตั้งใจของคุณสันติที่พร้อมเริ่มกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์นั้นสามารถเป็นต้นแบบให้กับสมาชิกเครือข่ายเพื่อเข้ามาศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ประชุมกรรมการเครือข่าย PGS Organic Phuket
จากการทำงานเชื่อมผู้ประกอบการ ผู้บริโภคซื้อสินค้าอินทรีย์จากเกษตรกรอินทรีย์ ผ่าน TOCA Platform จึงเกิดการประชุมร่วมกับกรรมการเครือข่าย PGS Organic Phuket และอาจารย์กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ในการร่วมวางแผนโครงสร้างบริหารจัดการเครือข่าย การวางแนวทางการขับเคลื่อนและการเตรียมแผนเรื่องการอบรมผู้ตรวจแปลง ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ และการใช้งาน TOCA Platform โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณืทำงานการขับเคลื่อนกลุ่มพีจีเอสสามพรานโมเดล ซึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนในการวางแผนได้ พร้อมแนะนำมุมมองด้านการตลาดของการขับเคลื่อนแบบรวมกลุ่ม และแนะนำการวางแผนขับเคลื่อนเครือข่ายด้วยพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีจำนวนผู้ประกอบการหรือตลาดรองรับสินค้าอินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายสามารถทำได้ทั้งแนวทางการรวมตัวหรือการขายรายเดี่ยวเพียงแค่มีความโปร่งใส ความเชื่อมั่นของสินค้าให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าเราได้ การทำ Branding ของกลุ่มการทำให้ PGS ของเครือข่ายเข้มแข็ง โปร่งใส และเชื่อมั่นได้ คือใจความสำคัญของการทำ Branding การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางของข้อกำหนด PGS อย่างถูกต้องจะสร้างผลดีให้กับเกษตรกรและพื้นที่ได้ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่การันตีความเป็นอินทรีย์ให้กับสินค้าและทำให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็งได้ คณะกรรมการมีความเห็นพร้อมกันถึงการวางโครงสร้างการบริหารจัดการเครือข่ายให้เป็นแบบแผน เพื่อทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันและยั่งยืน และเห็นว่า TOCA Platform จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อการบันทึกกิจกรรมฟาร์มสำหรับการเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ของเครือข่าย สามารถเรียกดูรายงานกิจกรรมออนไลน์ได้ ตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลที่ทำการบันทึกได้ รวมถึงยังเป็นช่องทางการตลาดของเครือข่ายในการเชื่อมผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้อีกด้วย คณะกรรมการจะนัดหมายเพื่อวางแผนโครงสร้างร่วมกันอีกครั้งเพื่อชี้แจงและขอความเห็นกับสมาชิกส่วนใหญ่อีกครั้ง

Farm Visit สวนใจเขียว และบ้านสวนพรอนันต์ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
เยี่ยมชม “สวนใจเขียว” วันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ผลผลิตเด่น ได้แก่ เสาวรส แก้วมังกร ทุเรียน ผักใบ สวนใจเขียว มีพื้นที่ 30 กว่าไร่ นอกจากการเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้ประกอบการ เปิดร้านอาหารโดยใช้วัตถุดิบจากในแปลงมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ และเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ มีระบบการเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองและเพาะขยายพันธุ์เอง ผลผลิตที่ได้จากแปลงยังสามารถขายให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการได้อีกด้วย “บ้านสวนพรอนันต์” ผลผลิตเด่น ได้แก่ พืชสมุนไพร ด้วยบริบทของบ้านสวนพรอนันต์ที่แตกต่างจากสวนอื่นๆ จากจุดเปลี่ยนช่วงสถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้ครอบครัวเน้นทำการเกษตรกรแบบกสิกรรมธรรมชาติ เป็นส่วนป่าดั่งเดิมปลูกพืชสมุนไพรผสมผสาน สำหรับเป็นยาบำรุงและรักษาโรค และมีกิจกรรมย้อมผ้าสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกไม้ เปลือกผลไม้ต่างๆ จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรต่างๆ

เชฟลุยสวน พาเยี่ยมสวนผักกูดทอง (Farm Visit)
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA พาเชฟกล้า เฉลิมชัย ประกอบกิจ จากโรงแรม Trisara ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และเชฟหน่อง วิโรจน์ พลนาดี โรงแรม Rosewood ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ได้ทำความรู้จักเกษตรกรอินทรีย์ คุณลุงกัมพล กิ่งแก้ว ณ บ้านสวนผักกูดทอง ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นการเรียนรู้วิถีการทำเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่งของคุณลุงกัมพล ในการใช้ห่วงโซ่อาหารดูแลจัดการฟาร์ม และเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งผลิตผักต่างๆ ได้แก่ ผักเหนียง ผักกูด ยอดผักหมุ๋ย ยอดมะกอก ยอดมะม่วงหิมพานต์ (ผักเครื่องเคียงขนมจีน) โดยผักเหนียง และผักกูด เป็นผักที่มีปริมาณสามารถจำหน่ายได้

เปิดการท่องเที่ยววิถีใหม่กับ “Organic Tourism in Phuket”
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดกิจกรรม Organic Tourism in Phuket ในโอกาสการเปิดเกาะ Phuket Sandbox ต้อนรับกลุ่มนักเรียนและกลุ่มสื่อจากตลาดอเมริกาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ณ บ้านสวนผักกูดทอง กิจกรรมทั้ง 2 วันที่จัดขึ้นในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บ้านสวนผักกูดทอง อยู่ภายใต้หัวข้อของ BCG (Bio-Circular-Green) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของชาติ ที่หันมาสนับสนุนให้คนไทยหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็ได้นำ TOCA Platform มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ และทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจ มองเห็นภาพของการขับเคลื่อนเรื่อง BCG ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านการให้ผู้เข้าร่วมได้สะสม Earth Point จากกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การรับประทานอาหารให้หมดจาน การแยกขยะ การเที่ยวฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีมูลค่าในตัวเอง และในการจัดกิจกรรม TOCA ก็ได้รับการสนับสนุนจากโรงแรม Grand Mercure Phuket Patong และร้าน Torry’s Ice cream ที่เข้ามาร่วมซื้อสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ตรงจากเกษตรกรมาประกอบในมื้ออาหารให้ผู้เข้าร่วมได้รับประทาน เพื่อแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงระบบการทำงานร่วมกันของเกษตรกรอินทรีย์ และผู้ประกอบการ รวมไปถึงการตรวจสอบย้อนกลับได้ของ TOCA Platform ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าอินทรีย์ที่พวกเขาเลือกเป็นอินทรีย์อย่างแท้จริง และจะช่วยให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน BCG ในประเทศไทยได้จริง

ก้าวแรกของการรวมกลุ่มสร้างระบบรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกันจัดการประชุม และเชิญชวนเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ มาร่วมพูดคุย หารือแนวทางในการรวมตัวกันจัดตั้งเครือข่ายพีจีเอสภูเก็ต สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ได้มีโอกาสพบกับเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้บอกเล่าประสบการณ์การทำงานของสมาคมฯร่วมกับเกษตรกรเครือข่ายอื่นๆ และแนวทางการรวมกลุ่มสร้างระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมในวันนั้นก็มีความต้องการที่จะรวมตัวกันก่อตั้งพีจีเอสภูเก็ต จึงได้เริ่มต้นวางโครงสร้างของกลุ่ม และจัดทำข้อกำหนดของระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังได้เชิญผู้ประกอบการโรงแรม Grand Mercure Phuket มาร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อเชื่อมโยงตลาดสินค้าอินทรีย์ และสร้างแรงขับเคลื่อนให้กับสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ชวนผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์
สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้มีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบปะผู้ประกอบการโรงแรม และร้านอาหารเพื่อพูดคุย และเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีความสนใจมาร่วมกันขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีการเดินทางไปพบตัวแทนจากผู้ประกอบการในภูเก็ตจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ Grand Mercure Phuket Patong, Torry’s Ice Cream, Trisara และ Sri panwa ซึ่งในการร่วมพูดคุยเสนอแนวทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ร่วมกันกับผู้ประกอบการทั้ง 4 แห่ง ก็ได้รับผลตอบรับที่ดี รวมถึงได้เริ่มมีการสั่งซื้อวัตถุดิบอินทรีย์ตรงจากเกษตรกรผ่าน TOCA Platform ที่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลผลิตอินทรีย์ได้ผ่าน QR Code ที่ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลการบันทึกฟาร์มของเกษตรกร ถือเป็นผลตอบรับในทางบวกที่ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยมองว่าจะช่วยนำไปสู่ความร่วมมือที่เข้มแข็ง และสามารถพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดภูเก็ตต่อไปได้ในอนาคต และที่สำคัญในการลงพื้นที่ขับเคลื่อนในครั้งนี้ทางสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่เล็งเห็นถึงแนวทางการพัฒนา และสร้างวิถีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้นไป

TOCA ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง
เมื่อวันที่ 23 – 26 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ทีม TOCA ได้ลงพื้นที่ขยายเครือข่ายต้นน้ำ ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มสมาคมอาหารยั่งยืนนครศรีธรรมราช และเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ของภาคใต้ รวมถึงแนะนำวิธีการบันทึกกิจกรรมฟาร์ม และการขายสินค้าอินทรีย์ผ่าน TOCA Platform ให้กับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัด โดย 2 วันแรกของการทำงานทีม TOCA ได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกรพื้นที่ปากพญา และเกษตรกรจากพื้นที่ทุ่งโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งผลผลิตหลักของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มก็มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลผลิตอินทรีย์ที่มีอยู่บน TOCA Platform อาทิเช่น ปูดำ กุ้งกุราดำ มะละกอเรดเลดี้ เห็ดแครง เห็ดยามาบูชิตาเกะ และเห็ดมิวกี้ หลังจากนั้นทีม TOCA ก็ได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดตรัง เพื่อพบเกษตรกรจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีคนตรัง โดยผลผลิตหลักของเกษตรกรในกลุ่มนี้มีทั้งพืชผักพื้นบ้าน เช่น ผักเหลียง หน่อไม้ไผ่ตงศรีปราจีน และพืชผักที่เป็นที่นิยม เช่น ผักบุ้งจีน ผักสลัดชนิดต่างๆ ซึ่งในการพบปะเกษตรกรจากทั้ง 3 พื้นที่ TOCA ก็ได้มีโอกาสแนะนำ TOCA Platform ให้เกษตรกรได้รู้จักและทดลองใช้งานฟังก์ชั่นการบันทึกกิจกรรมฟาร์มผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่จะนำไปสู่การขายสินค้าอินทรีย์ผ่านออนไลน์ให้ผู้บริโภคในจังหวัดอื่นๆ สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ไปพร้อมกับเกษตรกรจากทั้ง 2 จังหวัดต่อไปในอนาคต

TOCA เปิดเวทีสัมมนาออนไลน์ แนะนำ ”เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม”
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยได้มีการจัดงานสัมมนาออนไลน์เพื่อแนะนำ “เครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากเครื่องมือประเมินความยั่งยืนระบบอาหารและเกษตรกรรมระดับสากล SAFA ให้มีความเหมาะสม และสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยมีผู้ให้ความสนใจ และเข้าร่วมจากหลากหลายองค์กรทั่วประเทศ การสัมมนาเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงที่มาของโครงการ อันเนื่องมาจากคุณอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย เล็งเห็นว่าปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนขององค์กรหรือโครงการที่ทำงานขับเคลื่อนระบบอาหารและเกษตรกรรมที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้ผู้ถูกประเมินได้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาตนเอง ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำโครงการ “พัฒนาเครื่องมือการประเมินความยั่งยืนขององค์กรที่พัฒนาระบบอาหารและเกษตรกรรม” โดยร่วมกับองค์กรในห่วงโซ่อาหารและเกษตรกรรม 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิสังคมสุขใจ สวนสามพราน และโรงเรียนบ้านคลองใหม่ ในการร่วมพัฒนาเครื่องมือขึ้น กิจกรรมนี้บอกเล่าถึงกระบวนการทำงานให้ได้มาซึ่งเครื่องมือ ที่ผ่านการปรับแก้ และพัฒนาผ่านการทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ที่ร่วมให้ความเห็นในการพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ – ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิ่งแวดล้อม – รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐกิจ – นายปกรณ์ เลิศเสถียรชัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคม – นายวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน : ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธรรมาภิบาล – รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ อาจารย์ด้านการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – นายชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการสามพรานโมเดล นอกจากนี้ประโยชน์ของเครื่องมือนี้ไม่เพียงเป็นการประเมินเพื่อให้เห็นข้อควรปรับปรุง หรือแนวทางการพัฒนาขององค์กรผู้ประเมิน ยังมีประโยชน์ถึงการระดมทุน และประสานงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาหรือการทำงานร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นในห่วงโซ่ได้ด้วย ปิดท้ายด้วยการแนะนำแนวทางการใช้งานเครื่องมือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การประเมินฟาร์ม และการประเมินห่วงโซ่ ภายใต้ 4 มิติหลัก ได้แก่ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดจะถูกกำหนดไว้เป็นระดับ 1-5 และคะแนนเหล่านี้จะถูกสรุปออกมาในรูปแบบของกราฟใยแมงมุมหลังจบการประเมิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับความยั่งยืนในแต่ละตัวชี้วัดของผู้ถูกประเมิน ก่อนจะปิดเวทีด้วยการเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้ถามคำถาม และเสนอแนวทางการพัฒนา และการทำงานของเครื่องมือต่อไปในอนาคต

TOCA และสามพรานโมเดลร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์พื้นที่จังหวัดเชียงราย
TOCA สามพรานโมเดล และคณะกรรมการจากกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงรายในแต่ละพื้นที่ ร่วมกันระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อถอดบทเรียนจากการทำงาน และสร้างภาพที่ชัดเจนของการดำเนินงานในอนาคตให้กับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สามพรานโมเดลและ TOCA ได้ร่วมบอกเล่าเรื่องราว เส้นทางการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในมุมมองของทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย ก่อนเข้าสู่กิจกรรม Workshop ถอดบทเรียนจากการทำงานขับเคลื่อน เพื่อให้สมาชิกได้มองเห็นถึงข้อดี และสิ่งที่ควรพัฒนาต่อไปในอนาคตของกลุ่ม