News
สวนผักดอย OK Farm Stay
ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางแห่งทิวสนที่ใครหลายคนชื่นชอบเก็บภาพประทับใจเมื่อมาเยือนถนนสายนี้ อีกจุดหมายปลายทางที่พลาดไม่ได้ที่ “สวนผักดอยโอเค Farm Stay” เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบ หรือสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ และสัมผัสวิถีวัฒนธรรมชาวลัวะไปพร้อมกัน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2565 TOCA นำคณะผู้ประกอบการโรงแรมรายาเฮอริเทจ โรงแรมแทมมิรีนวิลเลจ และAraksa Tea Garden ผู้บริหารจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านนโยบายและแผน พร้อมด้วยท่านเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ท่านปลัดอาวุโสอำเภอฮอด และท่านนายกเทศบาล เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย บรรยากาศการต้อนรับอันอบอุ่นตามวิถีชาวลัวะสักการะอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิลังคะด้วยสวยดอก จากนั้นทำความรู้จักถึงที่มาที่ไปของสวนผักดอยโอเค ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มผักกะดอย มาร่วมจัดเตรียมกิจกรรมอย่างคับคั่งถือเป็นการร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกัน ผู้ร่วมทริปได้สมัครสมาชิก TOCA เตรียมพร้อมสะสมคะแนน Earth Points ระหว่างกิจกรรม ได้เรียนรู้การดูแลแปลงผักอินทรีย์ด้วยมูลไส้เดือน แหนแดง และลงมือร่วมปลูกผัก อีกด้านช่วยกันตัดวอเตอร์เคสสำหรับเมนูแกงจืด นอกจากนั้นยังมีเมนูอาหารชาวลัวะได้แก่ ข้าวเบอะ หรือข้าวเบือ อร่อยถูกปากหลายๆ คน ก๋วยเตี๋ยวลุยสวนจากผักและไข่ในสวน ขนมเทียนหวานๆ หนึบส่วนผสมที่น่าสนใจจากเคล มัน และฟักทอง เคล้าคลอเสียงดนตรีสดจากสมาชิกกลุ่ม ภาคบ่ายนั่งรถชมวิถีการทำเกษตรในชุมชนบ้านวังกอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผักใหญ่แห่งหนึ่ง ก่อนสรุปกิจกรรมเพื่อการปรับปรุงกิจกรรมครั้งถัดไป ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมนอกจากได้รู้จักกับเกษตรกรโดยตรงแล้วยังเป็นโอกาสการเจรจาซื้อขายผลผลิตได้ด้วย
ขึ้นเหนือเตรียม Organic Tourism#2
TOCA ลงพื้นที่สำรวจสถานที่เตรียมกิจกรรมท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ ณ สวนฉันกับเธอ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หนึ่งในสวนเกษตรอินทรีย์ในเครือข่ายพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย นำโดยคุณสุพจน์ หลี่จา และคุณสุนีพร หลี่จา หรือคุณชิโอะ จะพาให้หลงรักเสน่ห์ชาวกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การเกื้อกูลกันของสิ่งแวดล้อม การใช้อาหารเป็นยา และการเกษตรนำไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สร้างรายได้เพิ่มจากการแปรรูปสินค้า และเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังจัดตั้งสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารเริ่มต้นจากการเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองต่างๆ และส่งเสริมองค์ความรู้อีกด้วย ทางสวนฉันกับเธอปลูกพืชผสมผสานทั้งข้าวพันธุ์พื้นเมือง พืชผัก พืชหัว เช่น บุก มัน เผือก และโกโก้ เป็นต้น จากจุดเริ่มต้นไฟไหม้สวนกาแฟทำให้คุณสุพจน์และคุณสุนีพร หันมาทดลองปลูกโกโก้แทน ควบคู่กับการเรียนรู้ในการบำรุง ดูแล การเก็บเกี่ยว กระบวนการหมัก และเรียนรู้การแปรรูปโกโก้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีแนวคิดการใช้อุปกรณ์ครัวง่ายๆ แปรรูปก่อนเพื่อสร้างการเรียนรู้และถ่ายทอดให้กับเกษตรกรรายย่อยสามารถทำเองได้ นอกจากนี้หากใครชื่นชอบบรรยากาศสามารถพักค้างคืนกับเจ้าของสวน หรือกางเต็นท์ได้ โดยมีกิจกรรมยามเย็นรอบกองไฟ ร้องเล่นเต้นรำ ตำข้าวปุก ชมหิ่งห้อยริมลำธาร กิจกรรมที่น่าสนใจ1. เรียนรู้เรื่องการเกื้อกูลอาศัยกับธรรมชาติ ภูมิปัญญาทางด้านอาหารพื้นถิ่น 2. วัฒนธรรมอาหารลีซู การกินอาหารเป็นยา3. เรียนรู้การแปรรูปโกโก้จากต้น สู่ช็อกโกแลตในบาร์ ทดลองทำด้วยตนเอง แปลงปลูกพืชหัว กับทิวทัศน์การทำเกษตรรอบข้าง ศาลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางชันขึ้นเขาดูการจัดการสวนโกโก้ และการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ สวนฉันกับเธอคาเฟ่ สะพานไม้ไผ่จากแรงใจชาวบ้านในชุมชน
MOU-Krabi Zero Ghost Net
กระบี่ เป็นจังหวัดที่อาชีพเกษตรและประมงช่วยสร้างรายได้สูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางทะเลและการเติบโตด้านการท่องเที่ยว จึงมีการเติบโตของจำนวนผู้ประกอบอาชีพประมงอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติจากการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะขยะตกค้าง จากแห อวน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำประมงที่มีอายุในการใช้งานไม่นานนัก และไม่ได้จัดการอย่างเหมาะสมในพื้นที่ชายฝั่ง และในทะเล ซึ่งส่งผลต่อทัศนียภาพ เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล มูลนิธิกระบี่ยั่งยืน เล็งเห็นถึงการลดปริมาณขยะสามารถบริหารจัดการได้จากต้นทางหรือบนชายฝั่ง โดยการลดปริมาณการเกิดขยะพลาสติกประเภทแหอวนในทะเลกระบี่ โดยการจัดการจากต้นทางผ่านการรับซื้อในรูปแบบธนาคารขยะ โดยนำทรัพยากรจากขยะส่งต่อให้ผู้รับซื้อ (Supplier) ที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านโครงการทะเลปลอด (เศษ) อวน (Net Free Seas) ดำเนินการโดยมูลนิธิ EJF และให้ราคาที่เป็นธรรมเพื่อดึงดูดการนำส่งขยะแหอวน และเข้ากองทุนชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการธนาคารได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งต่อให้ผู้ผลิตเพื่อแปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ ตามแนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม TOCA ร่วมกับมูลนิธิกระบี่ยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งบ้านไหนหนัง มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม ลงนามข้อตกลงร่วม MOU ในการดำเนินงานเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมกระบี่รีสอร์ท โดย TOCA จะใช้เครื่องมือ Waste Management System ในการบันทึกข้อมูลขยะจากการทำประมง เช่น แห อวนเก่า รวมถึงการจัดการขยะต่อเพื่อสะท้อนถึงการดำเนินงานนี้สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ฟุตปริ้น ช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้
Coco Valley Resort จ.น่าน
นึกถึงช็อกโกแลต จังหวัดน่าน ต้องนึกถึง Coco Valley Resort ซึ่งมุ่งมั่นรักษาและส่งต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ผ่านผลผลิตโกโก้อินทรีย์ ตั้งแต่การปลูก ดูแล เก็บผลผลิต หมัก ตาก และการแปรรูปเมล็ดโกโก้เป็นช็อกโกแลต 100% นำไปสู่การเปิดร้าน Cocoa Valley Cafe’ ซึ่งมีเมนูเครื่องดื่ม ของหวานจากช็อกโกแลตมากมายให้เลือกซื้อ เลือกลิ้มลอง Coco Valley ยังช่วยชาวบ้านผู้ปลูกโกโก้ ด้านความรู้การปลูกและดูแลตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe และเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตเพื่อนำมาแปรรูปต่อไป ซึ่งคุณจารุวรรณ จิณเสน เจ้าของกิจการเล็งเห็นโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมช็อกโกแลตซึ่งมีผลตอบรับที่ดีส่งผลให้เกิดการขยายพื้นที่การให้บริการคาเฟ่กว้างมากขึ้น ทั้งนี้สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) และคณะผู้บริหารการท่องเที่ยวไทย (ททท.) ด้านนโยบายและแผน พร้อมด้วยททท.สำนักงานน่าน เข้าพบเพื่อนำเสนอและหารือการขับเคลื่อนงานในจังหวัดน่าน เพื่อร้อยห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ส่งต่อสู่ผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวได้ โดยใช้เครื่องมือ TOCA Platform โดยคุณจารุวรรณให้ความสนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมดำเนินงานต่อ ซึ่งจะมีการนัดหมายสำรวจพื้นที่เพื่อเข้าใจบริบทการบริหารกลุ่มเกษตรกรในการออกแบบใช้งานแพลตฟอร์ม
สวนผักดอย OK Farm Stay
ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางแห่งทิวสนที่ใครหลายคนชื่นชอบเก็บภาพประทับใจเมื่อมาเยือนถนนสายนี้ อีกจุดหมายปลายทางที่พลาดไม่ได้ที่ “สวนผักดอยโอเค Farm Stay” เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบ หรือสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ และสัมผัสวิถีวัฒนธรรมชาวลัวะไปพร้อมกัน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2565 TOCA นำคณะผู้ประกอบการโรงแรมรายาเฮอริเทจ โรงแรมแทมมิรีนวิลเลจ และAraksa Tea Garden ผู้บริหารจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านนโยบายและแผน พร้อมด้วยท่านเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ท่านปลัดอาวุโสอำเภอฮอด และท่านนายกเทศบาล เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย บรรยากาศการต้อนรับอันอบอุ่นตามวิถีชาวลัวะสักการะอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิลังคะด้วยสวยดอก จากนั้นทำความรู้จักถึงที่มาที่ไปของสวนผักดอยโอเค ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มผักกะดอย มาร่วมจัดเตรียมกิจกรรมอย่างคับคั่งถือเป็นการร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกัน ผู้ร่วมทริปได้สมัครสมาชิก TOCA เตรียมพร้อมสะสมคะแนน Earth Points ระหว่างกิจกรรม ได้เรียนรู้การดูแลแปลงผักอินทรีย์ด้วยมูลไส้เดือน แหนแดง และลงมือร่วมปลูกผัก อีกด้านช่วยกันตัดวอเตอร์เคสสำหรับเมนูแกงจืด นอกจากนั้นยังมีเมนูอาหารชาวลัวะได้แก่ ข้าวเบอะ หรือข้าวเบือ อร่อยถูกปากหลายๆ คน ก๋วยเตี๋ยวลุยสวนจากผักและไข่ในสวน ขนมเทียนหวานๆ หนึบส่วนผสมที่น่าสนใจจากเคล มัน และฟักทอง เคล้าคลอเสียงดนตรีสดจากสมาชิกกลุ่ม ภาคบ่ายนั่งรถชมวิถีการทำเกษตรในชุมชนบ้านวังกอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผักใหญ่แห่งหนึ่ง ก่อนสรุปกิจกรรมเพื่อการปรับปรุงกิจกรรมครั้งถัดไป ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมนอกจากได้รู้จักกับเกษตรกรโดยตรงแล้วยังเป็นโอกาสการเจรจาซื้อขายผลผลิตได้ด้วย
ขึ้นเหนือเตรียม Organic Tourism#2
TOCA ลงพื้นที่สำรวจสถานที่เตรียมกิจกรรมท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ ณ สวนฉันกับเธอ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หนึ่งในสวนเกษตรอินทรีย์ในเครือข่ายพีจีเอส ออแกนิค เชียงราย นำโดยคุณสุพจน์ หลี่จา และคุณสุนีพร หลี่จา หรือคุณชิโอะ จะพาให้หลงรักเสน่ห์ชาวกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การเกื้อกูลกันของสิ่งแวดล้อม การใช้อาหารเป็นยา และการเกษตรนำไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สร้างรายได้เพิ่มจากการแปรรูปสินค้า และเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังจัดตั้งสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารเริ่มต้นจากการเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองต่างๆ และส่งเสริมองค์ความรู้อีกด้วย ทางสวนฉันกับเธอปลูกพืชผสมผสานทั้งข้าวพันธุ์พื้นเมือง พืชผัก พืชหัว เช่น บุก มัน เผือก และโกโก้ เป็นต้น จากจุดเริ่มต้นไฟไหม้สวนกาแฟทำให้คุณสุพจน์และคุณสุนีพร หันมาทดลองปลูกโกโก้แทน ควบคู่กับการเรียนรู้ในการบำรุง ดูแล การเก็บเกี่ยว กระบวนการหมัก และเรียนรู้การแปรรูปโกโก้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีแนวคิดการใช้อุปกรณ์ครัวง่ายๆ แปรรูปก่อนเพื่อสร้างการเรียนรู้และถ่ายทอดให้กับเกษตรกรรายย่อยสามารถทำเองได้ นอกจากนี้หากใครชื่นชอบบรรยากาศสามารถพักค้างคืนกับเจ้าของสวน หรือกางเต็นท์ได้ โดยมีกิจกรรมยามเย็นรอบกองไฟ ร้องเล่นเต้นรำ ตำข้าวปุก ชมหิ่งห้อยริมลำธาร กิจกรรมที่น่าสนใจ1. เรียนรู้เรื่องการเกื้อกูลอาศัยกับธรรมชาติ ภูมิปัญญาทางด้านอาหารพื้นถิ่น 2. วัฒนธรรมอาหารลีซู การกินอาหารเป็นยา3. เรียนรู้การแปรรูปโกโก้จากต้น สู่ช็อกโกแลตในบาร์ ทดลองทำด้วยตนเอง แปลงปลูกพืชหัว กับทิวทัศน์การทำเกษตรรอบข้าง ศาลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางชันขึ้นเขาดูการจัดการสวนโกโก้ และการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ สวนฉันกับเธอคาเฟ่ สะพานไม้ไผ่จากแรงใจชาวบ้านในชุมชน
MOU-Krabi Zero Ghost Net
กระบี่ เป็นจังหวัดที่อาชีพเกษตรและประมงช่วยสร้างรายได้สูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางทะเลและการเติบโตด้านการท่องเที่ยว จึงมีการเติบโตของจำนวนผู้ประกอบอาชีพประมงอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติจากการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะขยะตกค้าง จากแห อวน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำประมงที่มีอายุในการใช้งานไม่นานนัก และไม่ได้จัดการอย่างเหมาะสมในพื้นที่ชายฝั่ง และในทะเล ซึ่งส่งผลต่อทัศนียภาพ เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล มูลนิธิกระบี่ยั่งยืน เล็งเห็นถึงการลดปริมาณขยะสามารถบริหารจัดการได้จากต้นทางหรือบนชายฝั่ง โดยการลดปริมาณการเกิดขยะพลาสติกประเภทแหอวนในทะเลกระบี่ โดยการจัดการจากต้นทางผ่านการรับซื้อในรูปแบบธนาคารขยะ โดยนำทรัพยากรจากขยะส่งต่อให้ผู้รับซื้อ (Supplier) ที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านโครงการทะเลปลอด (เศษ) อวน (Net Free Seas) ดำเนินการโดยมูลนิธิ EJF และให้ราคาที่เป็นธรรมเพื่อดึงดูดการนำส่งขยะแหอวน และเข้ากองทุนชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการธนาคารได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งต่อให้ผู้ผลิตเพื่อแปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ ตามแนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม TOCA ร่วมกับมูลนิธิกระบี่ยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งบ้านไหนหนัง มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม ลงนามข้อตกลงร่วม MOU ในการดำเนินงานเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมกระบี่รีสอร์ท โดย TOCA จะใช้เครื่องมือ Waste Management System ในการบันทึกข้อมูลขยะจากการทำประมง เช่น แห อวนเก่า รวมถึงการจัดการขยะต่อเพื่อสะท้อนถึงการดำเนินงานนี้สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ฟุตปริ้น ช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้
Coco Valley Resort จ.น่าน
นึกถึงช็อกโกแลต จังหวัดน่าน ต้องนึกถึง Coco Valley Resort ซึ่งมุ่งมั่นรักษาและส่งต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ผ่านผลผลิตโกโก้อินทรีย์ ตั้งแต่การปลูก ดูแล เก็บผลผลิต หมัก ตาก และการแปรรูปเมล็ดโกโก้เป็นช็อกโกแลต 100% นำไปสู่การเปิดร้าน Cocoa Valley Cafe’ ซึ่งมีเมนูเครื่องดื่ม ของหวานจากช็อกโกแลตมากมายให้เลือกซื้อ เลือกลิ้มลอง Coco Valley ยังช่วยชาวบ้านผู้ปลูกโกโก้ ด้านความรู้การปลูกและดูแลตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe และเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตเพื่อนำมาแปรรูปต่อไป ซึ่งคุณจารุวรรณ จิณเสน เจ้าของกิจการเล็งเห็นโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมช็อกโกแลตซึ่งมีผลตอบรับที่ดีส่งผลให้เกิดการขยายพื้นที่การให้บริการคาเฟ่กว้างมากขึ้น ทั้งนี้สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) และคณะผู้บริหารการท่องเที่ยวไทย (ททท.) ด้านนโยบายและแผน พร้อมด้วยททท.สำนักงานน่าน เข้าพบเพื่อนำเสนอและหารือการขับเคลื่อนงานในจังหวัดน่าน เพื่อร้อยห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ส่งต่อสู่ผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวได้ โดยใช้เครื่องมือ TOCA Platform โดยคุณจารุวรรณให้ความสนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมดำเนินงานต่อ ซึ่งจะมีการนัดหมายสำรวจพื้นที่เพื่อเข้าใจบริบทการบริหารกลุ่มเกษตรกรในการออกแบบใช้งานแพลตฟอร์ม
TOCA Platform
TOCA Platform
TOCA Platform (www.tocaplatform.org) is a digital platform that links the entire organic value chain. It enables organic farmers to input their farm inputs and activities from production planning to soil preparation and farm input compositions to sales activities. Businesses can search for organic produce on the platform, buy through the platform and show produce traceability to the customers. Consumers can search to visit organic farms or to go to restaurants and hotels businesses that use organic produce from farmers on the platform. In this way, TOCA Platform is a tool that promotes transparency throughout the organic value chain, fostering trust in our sustainable food system and organic society.